เมนู

วรรคที่ 11



ติสโสปิ อนุสยกถา



[1432] สกวาที อนุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นอัพยากฤตคือวิบาก เป็นอัพยากฤตคือกิริยา เป็น
รูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏฐัพพายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1433] ส. กามราคานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์
กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์
เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคานุสัย เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1434] ส. ปฏิฆานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปฏิฆะ ปฏิฆปริยุฏฐาน ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นอัพยากฤต
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. ปฏิฆะ ปฏิฆปริยุฏฐาน ปฏิฆสัญโญชน์ เป็นอกุศล
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว
ส. ปฏิฆานุสัย เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1435] ส. มานานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มานะ มานปริยุฏฐาน มานสัญโญชน์ เป็นอัพยากฤต
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. มานะ มานปริยุฏฐาน มานสัญโญชน์ เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มานานุสัย เป็นกุศล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1436] ส. ทิฏฐานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ทิฏฐิ ทิฏโฐฆะ ทิฏฐิโยคะ ทิฏฐิปริยุฏฐาน ทิฏฐิ
สัญโญชน์ เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ทิฏฐิ ทิฏโฐฆะ ทิฏฐิโยคะ ทิฏฐิปริยุฏฐาน ทิฏฐิ
สัญโญชน์ เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. ทิฏฐานุสัย เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1437] ส. วิจิกิจฉานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์
วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิจิกิจฉา วิจิกิจฉาปริยุฏฐาน วิจิกิจฉาสัญโญชน์
วิจิกิจฉานิวรณ์ เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิจิกิจฉานุสัย เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1438] ส. ภวราคานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ภวราคะ ภวราคปริยุฏฐาน ภวราคสัญโญชน์ เป็น
อัพยากฤต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ภวราคะ ภวราคปริยุฏฐาน ภวราคสัญโญชน์ เป็น
อกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ภวราคานุสัย เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

[1439] ส. อวิชชานุสัย เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน
อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นอัพยากฤต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน
อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชานุสัย เป็นอกุศล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1440] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยเป็นอัพยากฤต หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นไปอยู่
พึงกล่าวว่า ผู้มีอนุสัย หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศล มาพบกัน หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็เป็นอัพยากฤต น่ะสิ
ส. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไป
อยู่ พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีราคะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ธรรมที่เป็นกุศลและที่เป็นอกุศลมาพบกัน หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นอัพยากฤต น่ะสิ
[1441] ส. อนุสัย เป็นอเหตุกะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น
โผฏฐัพพายตนะหรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กามราคานุสัย เป็นอเหตุกะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์
ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์ เป็นอเหตุกะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์
เป็นสเหตุกะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคานุสัย เป็นสเหตุกะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ปฏิฆานุสัย ฯลฯ มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย
ภวราคานุสัย ฯลฯ อวิชชานุสัย เป็นอเหตุกะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชาปริยุฏฐาน
อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นอเหตุกะ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อวิชชา อวิชโชฆะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์ เป็นสเหตุกะ
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชานุสัย เป็นสเหตุกะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1442] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยเป็นอเหตุกะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นบุคคลและเป็นอัพยากฤตเป็นไปอยู่
พึงกล่าวว่า ผู้มีอนุสัย หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. อนุสัยเป็นสเหตุกะโดยเหตุอันนั้น หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็เป็นอเหตุกะ น่ะสิ
ส. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต เป็น
ไปอยู่ พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีราคะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ราคะเป็นสเหตุกะโดยเหตุอันนั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นอเหตุกะ น่ะสิ
[1443] ส. อนุสัยเป็นจิตตวิปปยุต1 หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

1. ไม่ประกอบกับจิต.

ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็นโผฏ-
ฐัพพายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กามราคานุสัย เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์
กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน ฯลฯ กามฉันทนิวรณ์
สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคานุสัย สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1444] ส. กามราคานุสัย เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน ?
ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.
ส. สังขารขันธ์เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สังขารขันธ์เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1445] ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็น
จิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคะ นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่วิปปยุตจากจิต
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กามราคะ นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วย
จิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุต
ด้วยจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1446] ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็น
จิตตวิปปยุต ส่วนกามราคะ นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วยจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขารขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง
เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สังขารขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง
เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีก
ส่วนหนึ่งเป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1447] ส. ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย
ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์
เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์
สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชานุสัย สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อวิชชานุสัย เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน.
ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.
ส. สังขารขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สังขารขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นจิตตวิปปยุต
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชา นับเนื่องในสังขารขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อวิชชา นับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ สัมปยุตด้วยจิต
หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นจิตตวิปปยุต
ส่วนอวิชชา นับเนื่องในสังขารขันธ์ และสัมปยุตด้วยจิต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง
เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สังขารขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีกส่วนหนึ่ง
เป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ ส่วนหนึ่งสัมปยุตด้วยจิต อีก
ส่วนหนึ่งเป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1448] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยเป็นจิตตวิปปยุต หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ปุถุชน เมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤตเป็นไป
อยู่ พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีอนุสัย หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. อนุสัย สัมปยุตด้วยจิตนั้น หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็เป็นจิตตวิปปยุต น่ะสิ.
ส. ปุถุชน ครั้นเมื่อจิตที่เป็นกุศลและที่เป็นอัพยากฤต
เป็นไปอยู่ พึงกล่าวว่า เป็นผู้มีราคะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ราคะ สัมปยุตด้วยจิตนั้น หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นจิตตวิปปยุต น่ะสิ.
ติสโสปิ อนุสยกถา จบ

อรรถกถาติสโสปิ อนุสยกถา



ว่าด้วย อนุสัยเป็นธรรม 3 อย่าง



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนุสัยเป็นธรรมแม้ทั้ง 3 คือ เป็นอัพยากตะ เป็น
อเหตุกะ และเป็นจิตตวิปปยุต. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจ